ฮอร์โมน กับ อาการวัยทอง
  • 02-1267884-5

Blog Detail

December 7, 2023 | by

ฮอร์โมน กับ อาการวัยทอง

ฮอร์โมนคืออะไร

ฮอร์โมน คือสารธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เอง เราสามารถรักษาสมดุลของฮอร์โมนได้ด้วยการปรับการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับกลไกร่างกายในการสร้างฮอร์โมน เช่น นอนหลับอย่างมีคุณภาพ ออกกำลังกาย และกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพราะฮอร์โมนส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับไลฟ์สไตล และสารอาหารที่เรากินเข้าไป เราการรักษาระดับสมดุลของฮอร์โมนจึงมีความสำคัญในการมีสุขภาวะที่ดี 


 

ประจำเดือนกับฮอร์โมนเกี่ยวข้องกันอย่างไร

 

ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเริ่มมีประจำเดือนเมื่ออายุประมาณ 12-13 ปี หลังจากนั้นจะมีประจำเดือนไปจนกระทั่ง อายุประมาณ 45-55 ปี 

อย่างไรก็ตาม  การหลั่งฮอร์โมนของแต่ละคนแตกต่างกันทำให้การเริ่มและหมดประจำเดือนอาจแตกต่างไปตามความแตกต่างทางพันธุกรรมและสุขภาพของแต่ละบุคคล 

 

การมีประจำเดือนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนหลายชนิด ฮอร์โมนที่สำคัญในกระบวนการประจำเดือนได้แก่:

 

1. ฮอร์โมน Follicle Stimulating Hormone (FSH) ฮอร์โมนนี้ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของไข่และควบคุมการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน

2. ฮอร์โมน Estrogen เป็นฮอร์โมนที่ผลิตออกมาจากไข่สุกเต็มที่  ในช่วงก่อนวันตกไข่ ระดับฮอร์โมน Estrogen จะสูงสุด 

3. ฮอร์โมน Progesterone (โปรเจสเตอโรน) ฮอร์โมน Progesterone ควบคุมการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อรองรับไข่ที่ถูกผสม  หากไม่มีการปฏิสนธิ  เยื่อบุจะถูกขับออกมาเกิดเป็นประจำเดือน

4. ฮอร์โมน Luteinizing Hormone (LH) ควบคุมรอบประจำเดือนของผู้หญิงให้ปกติและทำงานร่วมกับ FSH 


 

จริงหรือที่ผู้หญิงทุกคนต้องเผชิญกับอาการวัยทอง ??

 

เรามักได้ยินว่า ช่วงคาบเกี่ยวสู่ วัยหมดประจำเดือน (pre menopause)  ประจำเดือนเริ่มจะมาไม่สม่ำเสมอ แต่ยังไม่หยุด เริ่มมีอาการต่างๆที่เรียกกันว่า อาการวัยทอง เช่น  นอนไม่หลับ ร้อนวูบวาบ มีอารมณอ่อนไหว รวมทั้งอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยอาการไม่สบายเนื้อตัวต่างๆ ซึ่งเราย่อมอยากหลีกเลี่ยงผลกระทบจากอาการวัยทอง  

 

มาทำความเข้าใจ ช่วงเวลาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือนของผู้หญิงกัน โดยแบ่งเป็น 4 ช่วง คือ

 

เมื่อเริ่มมีประจำเดือน จนถึงวัยประมาณ 35 ปี ถือเป็น ช่วงพีคของวัยเจริญพันธ์ุของผู้หญิง เป็นช่วงที่สุขภาพกายใจแข็งแรงที่สุด 

 

จากนั้นจะเข้าสู่ช่วงก่อนหมดประจำเดือน (Pre-menopause) ฮอร์โมนเริ่มลด ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญเพื่อรับมือและลดผลกระทบจากภาวะหมดประจำเดือนหรืออาการวัยทอง ถ้าเตรียมตัวในช่วงเวลานี้ให้ดี จะผ่านวัยทองได้ราบรื่นขึ้น

 

ระยะเริ่มต้นของวัยหมดประจำเดือน (Peri-menopause) เป็นระยะที่แสดงถึงการสิ้นสุดภาวะเจริญพันธุ์ของผู้หญิง เข้าสู่วัยทอง  ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลงอย่างมาก ในระยะนี้ประจำเดือนของผู้หญิงจะมาไม่ปกติ และบางครั้งผู้หญิงอาจประสบกับประจำเดือนขาด รอบประจำเดือนสั้นลง หรือมีรอบเดือนยาวนานขึ้น นอกจากนี้ยังอาจมีอาการร้อนวูบวาบ ความวิตกกังวล และนอนไม่หลับ เราจึงมักเรียกอาการเหล่านี้ว่า อาการวัยทอง

 

วัยหลังหมดประจำเดือน (Post-menopause) คือช่วงหลังจากที่ผู้หญิงไม่มีประจำเดือนแล้ว 12 เดือนติดต่อกัน ในช่วงนี้อาการวัยทองที่เป็นในช่วงระยะเริ่มต้นหมดประจำเดือนจะค่อย ๆ หายไป


 

คุณชิโนบุ ซาโตะ ผู้คิดค้นศาสตร์นวดเดรนน้ำเหลือง(Herbal Immune Therapy) และผู้อำนวยการสถาบันเพื่อสุขภาวะผู้หญิง (Director of Alternative Therapy Laboratories for Women) ได้ให้คำตอบว่า ไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่จะต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการวัยทอง เพียงแต่เราต้องเข้าใจกลไกของร่างกายและฮอร์โมน เพื่อปรับไลฟ์สไตล์ให้สอดคล้องกับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงและคงสุขภาวะที่ดี

ซึ่งช่วงเวลาที่สำคัญมากเพื่อผ่านวัยทองโดยได้รับผลกระทบน้อยที่สุดคือตั้งแต่ช่วงวัยที่ (2)  เมื่อฮอร์โมนต่างๆเริ่มลดลง



 

ข้อแนะนำเพื่อก้าวผ่านวัยทอง แบบชิล ชิล

 

คุณชิโนบุ ซาโตะได้แนะนำ ให้ผู้หญิงเราปรับไลฟ์สไตล์เพื่อเตรียมตัวก้าวผ่านช่วงวัยทองอย่างราบรื่นดังนี้

 

รักษาร่างกายให้อบอุ่นเสมอ รวมทั้งหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเย็น เพื่อส่งเสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพ ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันร่างกายจะทำงานร่วมกับระบบฮอร์โมน

รับแสงแดดอ่อนๆ ให้ร่างกายรับรู้กลางวัน-กลางคืน เพื่อหลั่งฮอร์โมนที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงเวลาซึ่งจะช่วยให้การนอนหลับมีคุณภาพยิ่งขึ้น

นอนหลับและตื่นให้สอดคล้องกับนาฬิกาชีวิต คือหลับให้ได้ก่อน 5 ทุ่ม เพราะช่วง 5 ทุ่มถึงตี 1 จะเป็นช่วงที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเพื่อซ่อมแซมร่างกาย 

ออกกำลังกาย และขยับเขยื้อนร่างกายเพื่อให้น้ำเหลืองไหลเวียนได้ดี เพราะระบบน้ำเหลืองเป็นหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกันซึ่งทำงานร่วมกับฮอร์โมน

นวดและใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อคืนภาวะสมดุลและผ่อนคลายระบบประสาทอัตโนมัติ

 

คุณชิโนบุซาโตะ ให้ความสำคัญการทำงานที่สอดคล้องและส่งเสริมกันของระบบทั้ง 3 ในร่างกาย คือ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาท ระบบฮอร์โมน จึงได้คิดค้นศาสตร์นวดเดรนดน้ำเหลือง ซึ่งส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันผ่อนคลายระบบประสาทให้ทำงานสอดประสานกันอย่างสมดุล เพื่อไปส่งสัญญานให้ระบบฮอร์โมนซึ่งซับซ้อนที่สุดทำงานตามกลไกธรรมชาติ ไม่เหวี่ยง ไม่มากหรือน้อยเกิน ซึ่งช่วยให้สามารถก้าวผ่านวัยทองได้อย่างราบรื่น






 

Source: 

 

https://www.bumrungrad.com/th/conditions/menopause

 

https://www.bbc.com/thai/articles/c1v991wxr3qo.

 

https://hd.co.th/hormones

 

https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/827/Amenorrhea


 

https://www.apexprofoundbeauty.com/%e0%b8%82%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%99-%e0%b8%ae%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%82%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%b3/.

 

https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2341672.

 https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%99.

 

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C.

 

https://hellokhunmor.com/%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%82%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%a8/%e0%b8%ae%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%82%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%a8-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3-%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%8d/.